ศัลยกรรมปลูกผม

ปลูกผม
Hair Transplant

 

ศัลยกรรม ปลูกผม 2

ศัลยกรรมการปลูกผม เป็นเทคนิคการย้ายรากผมจากบริเวณหนึ่งไปสู่บริเวณหนึ่ง จากบริเวณด้านข้างหรือด้านหลังศีรษะที่มีผมเยอะและแข็งแรงที่สุด โดยนำเส้นผมที่มีเซลล์รากผมบนศีรษะออกมาทีละกอ ที่คาดว่าจะมีปริมาณรากผมที่ต้องการ จากนั้นนำเอามาแยกรากผมออกทีละรากด้วยใช้กล้องจุลทรรศน์ ประมาณ 2,000 - 6,000 กราฟ โดยใช้เวลาประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง และใช้น้ำเกลือให้ความชุ่มชื้นแก่รากผม จากนั้นจะนำรากผมที่เตรียมไว้ไปปลูกทีละรากบนบริเวณศีรษะที่เตรียมไว้จนหมด

.

วิธีปลูกผม มี 2 วิธีหลักๆ ที่นิมในปัจจุบัน ได้แก่

ภาพแสดงวิธีการปลูกผมแบบ FUE และ FUT

Follicular Unit Extraction หรือ FUE เป็นวิธีการเจาะเอาเซลล์รากผมจากหนังศีรษะบริเวณด้านหลัง (ด้านหลังเป็นบริเวณที่เส้นผมแข็งแรง) มาปลูกถ่ายในบริเวณที่ผมบาง หรือไม่มีผม โดยที่แพทย์ไม่จำเป็นต้องเลาะตัดหนังศีรษะของคนไข้ออกมาเป็นชิ้นยาว จึงไร้กังวลเรื่องปัญหาแผลเป็นที่ไม่สวยงาม

วิธีการรักษาด้วยเทคนิค FUE แพทย์จะทำการฉีดยาชา หรือให้คนไข้ทานยานอนหลับแบบอ่อนๆ และแพทย์ถึงจะเริ่มทำการรักษา/ปลูกผมใหม่ด้วยเทคนิค FUE เป็นเทคนิคที่ให้ผลเรื่องความสวยงาม และดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด ปลูกผมเสร็จก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

เทคนิค FUE โดยการใช้เครื่องมือพิเศษหัวเจาะ ที่มีหัวขนาดเล็ก 0.6-0.9 มิลลิเมตร เจาะตรงบริเวณรอบกอผม ตามพื้นที่ที่กำหนด โดยลึกลงไปจรดรากผม ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณท้ายทอยของศีรษะคนไข้ จากนั้นจึงดึงกอผมที่มีความแข็งแรงเหล่านั้นออกมา และแพทย์จะทำการฝังเซลล์รากผมใหม่ไว้ในตำแหน่งที่ต้องการจะปลูก โดยใช้วิธีการปลูกเช่นเดียวกับเทคนิค FUT ขั้นตอนต่างๆ ต้องใช้ความละเอียดประณีตและความชำนาญเฉพาะทางของแพทย์อย่างมาก

.

ข้อดีของ FUE
หลังการปลูกผม คนไข้จะรู้สึกเจ็บแผลด้านหลังน้อยกว่าเทคนิคแบบ FUT เพราะไม่ได้ตัดชิ้นเนื้อออกมาและไม่รู้สึกตึงหนังศีรษะเหมาะกับการปลูกผมที่ใช้จำนวนกอผม(กราฟ)ไม่มากนัก และสามารถเลือกเอาเส้นผมที่มีขนาดเล็กมาปลูกได้ จึงเหมาะกับการปลูกคิ้ว ปลูกขนตา สามารถนำขนจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น หนวด เครา ขนหน้าอก ขนแขน ขนหน้าแข้ง มาปลูกที่ศีรษะได้เช่นกัน แต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากขนที่นำมาปลูกมีลักษณะหยิก และไม่งอกยาวเหมือนเส้นผมที่หนังศีรษะ จึงอาจดูไม่เป็นธรรมชาติ

.

ข้อเสียของ FUE
รากผมที่ดึงออกจากหนังศีรษะ อาจจะขาดและไม่สมบูรณ์ ทำให้การขึ้นของผมไม่ดีเท่าวิธีFUTใช้ เวลาค่อนข้างมาก ทำให้การปลูกผมแต่ละครั้ง ได้จำนวนกอผม (กราฟ) ในจำนวนที่จำกัด ซึ่งการทำศัลยกรมปลูกผมด้วยวิธี FUE ไม่ควรทำเกินครั้งล่ะ 3,000 กราฟ แต่การทำแบบ FUT สามารถทำได้มากกว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความตึงของหนังศีรษะบริเวณด้านหลังศีรษะความหนาแน่นของผมตรงบริเวณท้ายทอยอาจลดลงจากเดิมประมาณ20%

.

ขั้นตอนการปลูกผม ด้วยเทคนิค FUE

ขั้นตอนที่ 1 : การเตรียมความพร้อมสำหรับการปลูกผม
แพทย์ทำการออกแบบแนวผมที่จะทำการปลูกใหม่ ให้เหมาะสมกับลักษณะโครงหน้าของคนไข้ การกำหนดพื้นที่บริเวณที่จะปลูกผมและทำการคำนวณกอผม (กราฟ) ผมบริเวณหนังศรีษะบริเวณด้านหลังจะถูกโกนให้สั้น เพื่อให้ง่ายต่อการย้ายเซลล์รากผมที่แข็งแรงจากทางด้านหลังมาปลูกบริเวณที่ต้องการ

 

ขั้นตอนที่ 2 : การเจาะเพื่อดึงเซลล์รากผม
แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด เมื่อยาชาออกฤทธิ์ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกบริเวณนั้น ผมบริเวณที่ถูกคัดเลือกจะถูกฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด แพทย์จะใช้เครื่องมือ พิเศษหัวเจาะ ที่มีหัวขนาดเล็ก 0.6-0.9 มิลลิเมตร เจาะรูเส้นผมทีละรู ลงลึกถึงเซลล์รากผมด้านล่าง จากนั้นแพทย์จะใช้ Forceps ดึงเซลล์รากผมออกมาจากหนังศีรษะเก็บไว้ในน้ำยารักษารากผม เพื่อเตรียมย้ายเซลล์รากผมไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 3 : การเจาะรูเพื่อปลูกผมใหม่
ในขั้นตอนการฝังกอผม (กราฟ) ในบริเวณที่ต้องการทำการปลูกผมนั้น แพทย์จะใช้ Forceps ปลายแหลม 2 ตัว โดยมือหนึ่งเปิดรูให้อ้าออก แล้วใช้อีกมือใส่กราฟเข้าไป เพื่อลดการบอบช้ำของเซลล์รากผม แพทย์ใช้เข็มเจาะแล้วปลูกผมใหม่ลงไป เพื่อเพิ่มความหนาแน่นแต่ละบริเวณที่ต้องการ

 ขั้นตอนที่ 4 : การฝังกอผม (กราฟ)
การดำเนินการขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณเซลล์รากผมที่ต้องการ ระหว่างขั้นตอนนี้ จะมีเวลาให้กับผู้ป่วยสำหรับการ รับประทานอาหารและพักผ่อน ประมาณ 10-15 นาที เป็นระยะๆ หลังจากการปลูกผมเสร็จสื้น พยาบาลจะทำการพันศรีษะผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจเกิดการบวมบริเวณหน้าผากหลังการ ปลูกผม หรืออาจเกิดตุ่มหนองเล็กๆ คล้ายหัวสิวได้บ้างบริเวณรูขุมขนที่ปลูก ซึ่งอาจให้ยาปฎิชีวนะเพื่อการรักษา หรืออาจมีอาการชาบริเวณหนังศีรษะหลังการปลูก ซึ่งอาการดังกล่าวก็มักจะหายไปได้เอง

ขั้นตอนที่ 5 : กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
คนไข้สามารถสระผมได้ในวันรุ่งขึ้นหลังการปลูก และสระได้ทุกวันหลังจากนั้น โดยไม่ต้องกังวลว่าแผลจะอักเสบหรือติดเชื้อ (ทางเราจะทำการสระผมพร้อมสอนวิธีการสระผมให้คนไข้เป็นเวลา 5 วัน) หลังผ่าตัดให้ปฏิบัติตัวตาม คำแนะนำ สามารถนอนหงายได้ปกติ แต่ควรจะคาดผ้า (head band ) ไว้สักระยะ ส่วนใหญ่แนะนำ 5 วันเพื่อป้องกันอาการหน้าบวม ระยะแรกหลังการผ่าตัด เส้นผมจะร่วงไปก่อนโดยรากผมจะเข้าสู่ระยะพักประมาณ 3-4 เดือน จึงเริ่มงอกขึ้นมาใหม่ อัตราการยาวของเส้นผมจะเท่ากับเส้นผมปกติตามธรรมชาติ ดังนั้น ระยะเวลาที่ผมจะยาวทันกันและให้ผลปรากฏที่สวยงาม จึงอยู่ที่ประมาณ 8-10 เดือน

Follicular Unit Transplantation (FUT) หรือ Strip Technique เป็น การปลูกผมด้วยวิธีเก่า ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัด และเป็นวิธีที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการปลูกผมมาเป็นเวลานาน แต่ในปัจจุบันการปลูกผมได้รับการพัฒนามาเป็นเทคนิคการปลูกผมแบบการเจาะเอาเซลล์รากผม (FUE) โดยเทคนิคนี้ กำลังเป็นที่กล่าวถึงและนิยมมากขึ้น อาจเนื่องจากไม่มีแผลเย็บ ไม่น่ากลัวเหมือนวิธีปลูกผมแบบทั่วไปเพราะหลายคนกลัวผ่าตัด เทคนิคการเจาะรากผมออกมาปลูกจึงตอบโจทย์นี้ แต่อย่างไรก็ตาม ศัลยกรรมปลูกผมแบบทั่วไปโดยใช้เทคนิค strip FUT ยังเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป

 

ข้อดีของ FUT
ในการผ่าตัดโดยใช้เทคนิคแบบ FUT(ในคนไข้รายเดียวกัน) เพียงครั้งเดียว อาจจะได้จำนวนกอผม (กราฟ) สูงสุดถึง 3,500 กราฟ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของหนังศีรษะคนไข้ กราฟได้รับการแยกโดยกล้องจุลทรรศน์ ทำให้สามารถระวังในการคัดแยกกราฟได้ดี กราฟบอบช้ำน้อย และเนื้อเยื้อของกราฟที่ได้มีความสมบูรณ์กว่า ใช้ระยะเวลาในการปลูกผมสั้นกว่าเมื่อเทียบกับเทคนิคการปลูกผมแบบ FUE นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการปลูกผมถูกกว่าอีกด้วย

ข้อเสียของ FUT
แผลเป็นมีลักษณะเป็นแนวยาว ต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจำนวนมาก โดยเฉลี่ย 6 – 8 คน ต่อคนไข้ 1 คน

ขั้นตอนการปลูกผมด้วยเทคนิค FUT
แพทย์ทำการวาดแนวผมที่จะทำการปลูก แพทย์ทำออกแบบและวาดแนวผมที่จะทำการปลูกใหม่ ให้เหมาะสมกับลักษณะโครงหน้าของคนไข้ พร้อมทั้งทำการคัดเลือกรากผมบริเวณหนังศรีษะด้านหลังส่วนของท้ายทอยยาวจนถึงใบหู (ความกว้างของแถบจะประมาณ 1-2 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนกอผม(กราฟ)ที่คนไข้ต้องใช้ในการปลูกผม) ผมคนไข้จะถูกรวบไว้ด้วยเทปกาวและผมบริเวณนั้นถูกตัดให้สั้นลง

 

ฉีดยาชาเฉพาะที่รอบแนวหนังศรีษะที่จะตัด
หนังศีรษะที่จะตัดออกจะถูกวาดไว้ เป็นแนว ฉีดยาชาเฉพาะที่โดยตลอดรอบแนวที่จะตัด

 

เริ่มผ่าตัดโดยใช้เทคนิคแบบเปิด (Open Technique)
หลังยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะเริ่มผ่าตัดด้วยการกรีดตามแนวแผลที่วาดไว้ตื้นๆ จากนั้นใช้ตะขอเล็กๆเกี่ยวขอบแผลทั้งสองข้าง ดึงแยกแผลออกจากกันในแนวตรงกันข้าม ในขณะที่ใช้มีดค่อยๆเลาะไปด้วยความระมัดระวัง จึงสามารถมองเห็นแนวรากผมที่เราจะผ่าได้อย่างชัดเจน

การเย็บแผล
หลังจากตัดหนังศีรษะออกไปแล้ว แผลจะถูกเย็บปิดด้วยไหมละลาย และเย็บตรึงห่างๆ ด้วยไหมไม่ละลายอีกชั้น เพื่อให้ แผลปิดสมานกันเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อครบ 7 วันแพทย์จะนัดมาตัดไหม

 

การหั่นกราฟ
หนังศีรษะชิ้นยาวที่ตัดออกมา จะถูกแล่เป็นชิ้นบางๆ (Slivering) จากนั้น ก็จะถูกนำไปแบ่งเป็นแต่ละเซลล์รากผม (Follicular Unit) ภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า แต่ละเซลล์รากผมหรือกอผม จะมีเส้นผมประมาณ 1-4 เส้น (micrografts) โดยจะแยกไว้เป็นกลุ่มแช่ไว้ในน้ำยารักษารากผม เพื่อคงความสมบูรณ์และลดการตายของรากผมก่อนนำไปปลูก

การฝังกราฟ
ก่อนจะทำการปลูกผม แพทย์จะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่ 2 จุด รอบเส้นประสาทเหนือหัวคิ้วทั้งสองข้างก่อนที่จะเจาะรูเพื่อปลูกรากผม หลังฉีดยาชา บริเวณหน้าผากจนถึงกลางศีรษะจะรู้สึกชา และฉีดยาห้ามเลือดผสมในน้ำเกลือเข้าไป เพื่อให้หนังศีรษะโป่งและพองตัวขึ้น จากนั้น แพทย์จะทำการเจาะรู และหยิบเซลล์รากผม ที่จะปลูกใส่ลงไปในรูที่เจาะเตรียมไว้แล้ว เพื่อเพิ่มความหนาแน่นในจุดที่ต้องการ ซึ่งอาจจะมีเลือดซึมบริเวณที่เจาะเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจเกิดการบวมบริเวณหน้าผากหลังการ ปลูกผม หรืออาจมีอาการชาบริเวณหนังศีรษะหลังการปลูกผมได้ ซึ่งอาการดังกล่าวก็มักจะหายไปได้เอง

กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
คนไข้สามารถสระผมได้ในวันรุ่งขึ้นหลังการปลูก และสระได้ทุกวันหลังจากนั้น โดยไม่ต้องกังวลว่าแผลจะอักเสบหรือติดเชื้อ (ทางเราจะทำการสระผมพร้อมสอนวิธีการสระผมให้คนไข้เป็นเวลา 5 วัน) หลังผ่าตัดให้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และสามารถนอนหงายได้ปกติ แต่ควรจะคาดผ้า (head band ) ไว้สักระยะ ส่วนใหญ่แนะนำ 5 วันเพื่อป้องกันอาการหน้าบวม ระยะแรกหลังการผ่าตัด เส้นผมจะร่วงไปก่อนโดยรากผมจะเข้าสู่ระยะพักประมาณ 3-4 เดือน จึงเริ่มงอกขึ้นมาใหม่ อัตราการยาวของเส้นผมจะเท่ากับเส้นผมปกติตามธรรมชาติ ดังนั้น ระยะเวลาที่ผมจะยาวทันกันและให้ผลปรากฏที่สวยงาม จึงอยู่ที่ประมาณ 8-10 เดือน

ศัลยกรรมการปลูกผมที่ประสบความสำเร็จ รากผมจะต้องเติบโตขึ้นมากกว่า 98% ทั้งนี้จะต้องอาศัยประสบการณ์ เทคนิค และความชำนาญของศัลยแพทย์เป็นสำคัญ

.

ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ ปวดตึงศีรษะ ชา และบวมที่หน้าผากได้บ้าง

 

.

.