จัดฟันสวย

ทันตกรรมจัดฟัน

ทันตกรรมจัดฟัน เป็นสาขาทางทันตแพทยศาสตร์ที่เชี่ยวชาญทางด้านการวินิจฉัย การป้องกัน และการรักษาความผิดปกติของฟันและใบหน้า  ที่ทำให้เกิดปัญหา malocciusion  ซึ่งหมายถึง การสบฟันที่ไม่เหมาะสม โดยอาจเป็นผลจากความผิดปกติของฟันเอง ความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมระหว่างฟันและขากรรไกร หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน ในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน อาจมุ่งเน้นเฉพาะการเคลื่อนที่ของฟันเท่านั้น หรือ จัดการกับการควบคุมและปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตของใบหน้า ร่วมด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงการปรับปรุงลักษณะทั่วไปของฟันด้วย เหตุผลทางด้านความสวยงาม ซึ่งทันตแพทย์จัดฟันมุ่งที่จะบูรณะโครงสร้างใบหน้าโดยรวมมากกว่าจะจำกัดผลที่เกิดเฉพาะกับฟันเท่านั้น

 

 

 

เครื่องมือจัดฟัน

Fixed appliances

ตัวยึดลวดจัดฟันชนิดโลหะ

Removable appliances

Invisalign

ตัวยึดลวดจัดฟันชนิด(เซรามิค)

จัดฟันแบบใส

ระบบยึดลวดด้วยตัวเอง

Orthodontic Plate

จัดฟันด้านใน

Snap-on Smile

 

การเลือกชนิดตัวยึด (Brace) ที่ใช้รักษาว่ามีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง

  • ความรุนแรงของการสบฟัน หรือ ปัญหาการสบฟันของคุณ
  • ความจำเป็นต้องได้รับการถอนฟันร่วมด้วย
  • ความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วย
  • ความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือจัดฟันภายนอกช่องปากร่วมด้วย เช่น headgear หรือครื่องมือพิเศษอื่น ๆ
  • จำนวนเวลาที่จะต้องสวมใส่เครื่องมือจัดฟัน
  • การประเมินของทันตแพทย์จัดฟัน
  • งบประมาณ
  • ระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการตัดสินใจขึ้นอยู่กับว่า คุณ อึดอัดใจที่จะใช้โลหะ ? หรือความตั้งใจที่จะจัดฟันด้วย  Invisalign  หรือคุณชอบการจัดฟันด้วย เซรามิก หรือจัดฟันด้านลิ้น (จัดฟันด้านใน)

ใครคือผู้ป่วยทางทันตกรรมจัดฟัน ?

คนทุกเพศทุกวัยสามารถจัดฟันได้  แต่มีเพียงทันตแพทย์จัดฟันหรือทันตแพทย์ของคุณเท่านั้นที่จะบอกได้คุณได้ประโยชน์จากการจัดฟันหรือไม่ โดยตรวจ วินิจฉัยจากประวัติทางทันตกรรมและทางการแพทย์ การตรวจแบบจำลองฟันปูนพลาสเตอร์  การตรวจการสบฟัน และตรวจภาพถ่ายรังสี (X- rays)และรูปถ่าย  ซึ่งจะบอกได้ว่าคุณควรได้รับการรักษาด้วยวิธีการจัดฟันหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะได้คำแนะนำและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคุณต่อไป หลายคนคิดว่าการจัดฟันทำเพื่อให้ฟันตั้งตรงขึ้นเท่านั้น แต่จริงๆ หลักแล้วการจัดฟันสามารถปรับแนวการเรียงตัวของฟันให้อยู่ในแนวการสบกัดที่ถูกต้อง และแก้ไขปัญหาในเรื่องของขากรรไกรได้อีกด้วย  มีปัญหาทั่วไปของฟันจำนวนมากที่ส่งผลถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดฟัน ถ้าคุณมีปัญหาดังกล่าวดังต่อไปนี้ คุณอาจจะต้องการคำปรึกษาจากทันตแพทย์จัดฟัน

ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างทางใบหน้า

ผู้ที่มีปัญหาจากโครงสร้างกระโหลก ส่งผลต่อความสูงของใบหน้าที่ผิดปกติ เช่น หน้ายาว  หน้าสั้น ฟันบนยื่น ริมฝีปากมีแรงมากกว่าปกติ เป็นต้น  จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด ตั้งแต่ตรวจเจอปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงชุดฟันผสมระยะต้น (Early mixed dentition) ซึ่งจะรักษาด้วยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ทำให้สามารถปรับปรุงลักษณะใบหน้าดังกล่าวได้

ฟันห่าง

เกิดเนื่องจากการเจริญเติบโตผิดปกติอย่างต่อเนื่องของกระดูกขากรรไกร และความแตกต่างของขนาดของฟัน เมื่อมีฟันหายไป อาจก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของฟันซี่อื่นที่อยู่ข้างเคียงสู่ช่องว่างที่ฟันหาย การเกิดช่องว่างระหว่างฟัน อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องโรคเหงือก (เนื่องจากไม่มีฟันป้องกัน) เกิดร่องลึกปริทันต์ และมีความเสี่ยงของโรคปริทันต์เพิ่มขึ้น บางครั้งอาจมีปัญหาเรื่องการสบกัดและเคี้ยวอาหารได้ไม่ดี โดยปัญหาฟันห่างสามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟัน

ฟันซ้อนเก (Overly Crowded Teeth)

เกิดเนื่องจากไม่มีเนื้อที่เพียงพอในขากรรไกร ที่จะทำให้ฟันเรียงตัวได้อย่างพอดีแบบปกติ อาจเพราะขากรรไกรเล็กไป ฟันมีการเคลื่อนมารวมกัน จนกระทั่งไม่มีพื้นที่เพียงพอให้เคลื่อนยกเว้นขึ้นหรือลง  เมื่อถูกทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา การเกิดฟันซ้อนเกจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามเวลา ซึ่งการซ้อนเกของฟันจะส่งผลทำให้มีการสะสมของคราบจุลินทรีย์ ฟันผุ และเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเหงือกอักเสบตามมา การรักษาฟันซ้อนเก มักต้องถอนฟันร่วมกับการจัดฟัน เพื่อให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

ฟันสบคร่อม (Crossbite)

ฟันสบคร่อม เกิดขึ้นเมื่อขากรรไกรบนและล่างไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำให้ฟันบนหนึ่งซี่หรือมากกว่ากัดสบอยู่ด้านในของฟันล่าง โดยเกิดขึ้นได้ทั้งด้านหน้าและด้านข้างของช่องปาก เป็นผลทำให้เกิดฟันสึกและยื่นอย่างผิดปกติ ปัญหาด้านการบดเคี้ยว รวมถึงปัญหาโรคเหงือกและปริทันต์

ฟันล่างเยื้องคร่อมฟันบน (Underbite)

เกิดขึ้นเมื่อฟันล่างยื่นออกมามากกว่าฟันหน้าบน มักเกิดจากการเติบโตของขากรรไกรบนน้อย การเติบโตของขากรรไกรล่างมาก หรืองทั้งสองอย่างรวมกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการขาดหายไปของฟันบนซึ่งมีผลต่อการทำหน้าที่ของฟัน หน้าบนและฟันกราม ทำให้เกิดการสึกของฟันตามมา  ก่อให้เกิดปัญหาและอาการปวดข้อต่อกระดูกขากรรไกร

ฟันยื่นคร่อมฟันล่าง (Overbite)

เกิดขึ้นเมื่อฟันบนกัดคร่อมลงบนฟันล่าง โดยมีระยะที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างปลายฟันบนและล่าง ขณะสบเต็มที่ ซึ่งลักษณะการสบฟันแบบนี้อาจทำอันตรายต่อเหงือกที่อยู่ด้านในได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดลักษณะปากผิดรูป  ริมฝีปากดันไปข้างหน้า บางครั้งพบว่า ไม่สามารถปิดริมฝีปากให้ได้สมบูรณ์กรณีที่การสบลึกรุนแรง  ในบางรายอาจมีการสูญเสียกระดูกเบ้าฟันทำให้รู้สึกไม่สบาย  อาจมีฟันหน้าสึกอย่างมาก  สาเหตุของฟันสบลึกเป็นได้ทั้งจากพันธุกรรม นิสัยที่ผิดปกติในการใช้ฟันและอวัยวะในช่องปากหรือการพัฒนาที่มากเกินของกระดูกรอบๆ ฟัน ส่งผลต่อโรคเหงือกและการบิ่นหรือแตกของฟันหน้า